การใช้เวลาว่าง
ให้เกิดประโยชน์
การใช้เวลาว่างเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ให้ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
1.ประโยชน์ต่อตนเอง ทำให้มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ เนื่องจากชีวิตประจำวันเต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก ทำให้คนไม่ค่อยได้มีโอกาสออกกำลังกายมากนัก ร่างกายจึงมักจะไม่สมบูรณ์แข็งแรง
การใช้เวลาว่างด้วยการออกกำลังกาย ก็จะสามารถทดแทนได้เพื่อให้สมรรถภาพทางกายสูงขึ้น ส่วนทางด้านจิตใจก็จะได้พักผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความวิตกกังวล ทำให้บุคคลสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมหรือประกอบการงานต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
2. ประโยชน์ต่อครอบครัว การใช้เวลาว่างบางอย่างนอกจากจะให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ทำให้ชีวิตครอบครัวเป็นสุขและอบอุ่นแล้ว ยังอาจช่วยเพิ่มรายได้ของครอบครัวโดยทางอ้อมอีกด้วย เช่น การปลูกต้นไม้ การปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
3. ประโยชน์ต่อสังคม ก่อให้เกิดความสามัคคี รักใคร่กลมเกลียวกันในหมู่คณะ ส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี ลดปัญหาการประพฤติผิดศีลธรรม หรือปัญหาอาชญากรรม โดยการรู้จักใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ เช่น การเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ร่วมกัน ทำให้เกิดความสนิทสนมขณะทำงานด้วยกัน ทำให้เพิ่มคุณธรรมแก่บุคคลผู้ร่วมกันทำกิจกรรมนั้น ๆ
1.ประโยชน์ต่อตนเอง ทำให้มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ เนื่องจากชีวิตประจำวันเต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก ทำให้คนไม่ค่อยได้มีโอกาสออกกำลังกายมากนัก ร่างกายจึงมักจะไม่สมบูรณ์แข็งแรง
การใช้เวลาว่างด้วยการออกกำลังกาย ก็จะสามารถทดแทนได้เพื่อให้สมรรถภาพทางกายสูงขึ้น ส่วนทางด้านจิตใจก็จะได้พักผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความวิตกกังวล ทำให้บุคคลสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมหรือประกอบการงานต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
2. ประโยชน์ต่อครอบครัว การใช้เวลาว่างบางอย่างนอกจากจะให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ทำให้ชีวิตครอบครัวเป็นสุขและอบอุ่นแล้ว ยังอาจช่วยเพิ่มรายได้ของครอบครัวโดยทางอ้อมอีกด้วย เช่น การปลูกต้นไม้ การปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
3. ประโยชน์ต่อสังคม ก่อให้เกิดความสามัคคี รักใคร่กลมเกลียวกันในหมู่คณะ ส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี ลดปัญหาการประพฤติผิดศีลธรรม หรือปัญหาอาชญากรรม โดยการรู้จักใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ เช่น การเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ร่วมกัน ทำให้เกิดความสนิทสนมขณะทำงานด้วยกัน ทำให้เพิ่มคุณธรรมแก่บุคคลผู้ร่วมกันทำกิจกรรมนั้น ๆ
ตัวอย่างการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เช่น การเข้าห้องสมุด
ประโยชน์ของห้องสมุด
1. เป็นสถานที่ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม
2. เป็นสถานที่ ที่ผู้ใช้บริการจะเลือกหนังสือที่อ่านได้ตามความสนใจ
3. ช่วยให้ผู้ใช้บริการเป็นคนทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
4. ช่วยให้ผู้ใช้บริการรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
5. ช่วยให้ผู้ใช้บริการมีนิสัยรักการอ่าน
6. ฝึกให้ผู้ใช้บริการรู้จักรับผิดชอบในสาธารณสมบัติ
หรืออาจพูดได้ว่า ห้องสมุดช่วยให้นักเรียนสามารถศึกษาหาความรู้ที่เรียนจากชั้นเรียนและที่นอกเหนือไปจากชั้นเรียนได้ ช่วยให้ครูค้นหาอุปกรณ์ในการเรียนการสอนได้ ช่วยให้นักเรียนได้รับความรู้กว้างขวางจากการได้พบและได้อ่าน ช่วยให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่างอย่างมีประโยชน์
|
ประโยชน์ของหมากล้อม
ทักษะทางปัญญา 11 ประการ จากการเล่นหมากล้อมเป็นประจำจะช่วยฝึกนิสัย ทัศนคติ จนกระทั่งอาจถึง สัญชาติญาณ (ถ้าเล่นจนถึงขั้น) เกี่ยวกับเรื่องต่างๆดังนี้
1. การวางแผน การตัดสินใจโดยใช้หลักเหตุผลมิใช่อารมณ์
2. ความสำเร็จจะเกิดได้จากการผสมผสานระหว่างนโยบาย , กลยุทธ ,และ ยุทธวิธี ที่ดีพร้อม
3. การปรับกลยุทธตามสถานการณ์ณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ยอมรับความจริงและพร้อมที่จะปรับปรุง
4. ผู้ที่ไม่พัฒนาย่อมล้าหลังและล่มสลาย ไปในที่สุด คือเราควรใช้ทรัพยากรทั้งหลายไปในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเรา จะทำให้เราทิ้งห่างขู้ต่อสู้ไปได้เอง ไม่ควรใช้ทรัพยากรทั้งหลายไปในทางทำลายล้างฝ่ายตรงข้าม เพราะ "กำลัง" ที่มุ่งใช้ในการทำลายล้างมักมีปฏิกิริยาย้อนกลับรุนแรง
5. การแบ่งสรรปันส่วน : ได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง ไม่มีทางได้ทั้งหมด เมื่อได้มาก็ต้องเสียไป เมื่อเสียไปแล้วค่อยหาทางได้กลับมา
6. การจัดลำดับความสำคัญของงานต่างๆ โดยเฉพาะงานด่วนต้องทำก่อนงานใหญ่เสมอ
7. การจัดดุลยภาพระหว่างเรื่องราวต่างๆ ที่เราต้องเกี่ยวข้องในชีวิต เสมือนการ ดูแลสนามรบ "อย่าชนะสนามรบแต่แพ้สงคราม
8. ศึกษา "กำลัง" ที่เกิดจากการรวมตัว เป็นกลุ่มของหมากบนกระดาน การเปรียบเทียบกำลัง สะสมกำลัง การป้องกันการเสื่อมสลายและสุดท้ายคือการใช้ "กำลัง" อย่างมีธรรมะเพื่อการสร้างสรรค์
9. การรู้จักประมาณ และเคารพผู้อื่น ในฐานะที่ต่าง ก็มีโอกาสเท่าเทียมกัน
10. เมื่อผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่ายมีฝีมือทัดเทียมกัน คนแพ้ก็คือ คนที่ทำผิดมากกว่าจึงฝึกให้มีความสุขุมรอบคอบควบคุมตัวเองให้ทำผิดน้อยที่ สุด รู้จักอดทนอดกลั้น โดยพยายามประคองตังเองเมื่อเพลี่ยงพล้ำ และแม้ว่าจะแพ้ก็ให้ประโยชน์ ในด้านการเตือนสติให้สำรวจตัวเองว่าเราได้ทำอะไรไปบ้าง จุดบกพร่องของเราอยู่ที่ไหน
11. ช่วยให้เข้าใจเรื่องความเปลี่ยนแปลง อันเป็นสัจธรรมของชาติของสิ่งทั้งหลายตามเหตูปัจจัยไม่ยึดติด ช่วยยกระดับภูมิจิตให้เข้าถึง ความสงบ อันเป็นคุณภาพจิตขั้นสูงสุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น